วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประเพณีบุญบั้งไฟ



ตำนานบุญบั้งไฟ 
              เป็นตำนานเก่าแก่ของอาณาจักรล้านช้างทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงมานานกาเล ลูกหลานผู้เกิดใหม่ใหญ่ทีหลัง ไปเที่ยวบุญบั้งไฟ แล้วอาจจะสงสัยว่าทำไมน้อ บั้งไฟในขบวนแห่ของพี่น้องเฮาชาวอีสานตามหมู่บ้านตามตำบลต่าง ๆ นั้น ทำไมจึงติดหัวนาคเอาไว้บนหัวบั้งไฟ แล้วก็แต่งเอ้ด้วยลวดลายสีสันงามสุดที่ยิ่ง เหมือนตัวนาคเกร็ดนาคฉะนั้น จะเล่าสู่ฟัง
กาละเมื่อนานมาแล้ว - นับเนื่องเป็นอสงไขย สมัยเมื่อสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งมวลมนุษย์ , สัตว์สิ่ง, หินดินน้ำฟ้าตลอดแม้ป่าแดดทะเลฝน ต่างสื่อสารระหว่างกัน ด้วยภาษาเดียวกัน ต่างรู้เรื่อง เข้าใจไม่มีแบ่งชนชั้นวรรณะ ต่างจึงสุขอยู่สร้าง เสมอด้ำ ดั่งกัน เมืองสวรรค์ชั้นฟ้า มีพญาแถนเป็นใหญ่ อำนวยให้เกิดกาลเวลาแห่งฤดูต่าง ๆ พญาแถนเจ้า ได้เปิดประตูชั้นฟ้า ให้พญานาคเจ็ดตนไปลงเล่นน้ำสระหลวง ทำให้น้ำเฟือนเฟียดฟ้งลงโลกมาเป็นฝน นำความชุ่มเย็น ทำให้เกิดสุขสะดวกสบายในการเฮ็ดการสร้าง การอยู่การกิน

สรรพสิ่งทั้งหลายก็ให้ความเคารพยำเกรงและกระทำการบูชาต่อพญาแถนตลอดมา กาละนั้น ยังมีเมืองชื่อนครดอกไม้ ตั้งอยู่บนโลก พญาเมืองถือสัตย์ ตุ้มไพร่ฟ้า ให้สุขถ้วนอยู่เริง แม่เมืองให้กำเนิดบุตร ผิดเพศมนุษย์คือเป็นคันคากหรือเป็นคางคก เป็นที่หลากใจแก่ผู้คนทั้งหลาย หมอโหรได้ทำนายทายทักว่า คันคากน้อยเป็นผู้มีบุญญาธิการยิ่ง จงเลี้ยงดูให้ดีเถิด แล้วคันคากน้อยก็ค่อย ๆ เติบใหญ่ตามกาลเวลา หามีผู้ใดรังเกียจเดียดฉันท์ไม่ กระทั่ง เวลาล่วงไปสมควรแก่วัยเติบกล้า ท้าวคันคากก็ถอดคราบออก เป็นหนุ่มรูปงาม คราบคางคกก็กลายเป็นเกราะทองรองกาย พาให้เห็นเป็นองอาจ และท้าวคันคากก็ทรงสามารถเชิงยุทธพิชัย มีฤทธีศักดาเหนือกว่าไผ
หมายความว่า ธรรมะคือหน้าที่ หน้าที่คือธรรมะ ผู้ปฏิบัติตนไม่เบียดเบียนผู้อื่นผู้ใด และทำหน้าที่ไปเป็นธรรมดาของการดำเนินชีวิต (เป็นธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต) ย่อมเกิดผลดี-สุข-สงบ-ร่มเย็น (เป็นธรรมะ ) แล้วพญาคันคากก็แต่งให้พญานกเค้าแมวเป็นทูตไปเจรจาแถน ขอให้แถนจงรักษาทำหน้าที่เปิดประตูสวรรค์ชั้นฟ้า ให้พญานาคเจ็ดตนได้ขึ้นไปเล่นน้ำสระหลวงตามที่เคยมา เพื่อดับทุกข์เข็ญเสียเถิด แต่พญาแถนแสนโกรธ ร้อยก็ไม่ยอมแสนก็ไม่ยอมโอนอ่อน " ย้อนว่า สูบ่พากันย่านเคารพบูชากู สูพากันบูชาบักพญาคันคากเมื่อสูทุกข์เดือดฮ้อน ให้หันหน้าไปพึ่งมัน นั่นถ้อน… " พญานกเค้าแมวนำความเจรจาล้มเหลวมาสู่สภาฟัง เหล่าสรรพสัตว์สรรพสิ่งได้ฟังยิ่งท้อแท้ และความโกรธกริ้วก็บังเกิดเป็นพายุ พญาคันคากประกาศสงครามต่อแถน เกณฑ์ส่ำสัตว์เขี้ยวงาน้ำและบกดาทัพ สัตว์ปีกระดมพล เหล่าเลื้อยคลานมีพญานาคเป็นเจ้าก็จัดเหล่าของตน สัตว์หกขาแปดขาบ้งกือต่างปลุกใจบ่เกรงย่าน
พญาคันคากบัญชาการให้พญาปลวกพาพวกก่อโพน เป็นโอ้นโญ้นโอ่นโหญ่นโพนต่อโพนไปถึงฟ้าหย่อนๆ สรรพสัตว์พากันไต่ต้อนแต้นถึงแถนฟ้าฟากสวรรค์ สงครามเทื่อนั้นเกิดสะเทือนเลื่อนลั่นระบาดทั่วจักรวาล สองชิงดีตีทัพ แผ่นดินไหวไฟฟาด น้ำก็เฟือนสมุทรฟื้น ลมก็หมุนน้าวป่า ฝนแสนห่าบ่มีเทื่อเหือดมื้อ ระดือเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ผิดสำแดงแล้งฮ้ายบ่มีเหือดฮนทุกข์ ขุกเข็ญหันกลียุคมุ่นวายทะลายปิ้น เป็นจั่งซี้เจ็ดปีปลายเจ็ดเดือน คันคากแถนรบเรวกันบ่หยุดหย่อน บ่มีผ่อนเผือดหญ่อ ทั้งสองก้ำพ่ำเสมอ ท่านเอย
 

 
รูปแบบงานบุญบั้งไฟ

    ในวันนี้ ประเพณีบุญบั้งไฟ แบ่งงานออกเป็นงานใหญ่ ๆ สองงานด้วยกันคือวันแรก เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 10.00 น. เป็นขบวนแห่บั้งไฟสวยงามไปตามถนนสายหลักใจกลางเมือง
         ในวันนี้ชาวบ้านจากคุ้มต่าง ๆ จะนำบั้งไฟขึ้นขบวนรถที่ตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามเป็นลวดลายไทยงามวิจิตร นำแห่แหนด้วยขบวนรำประกอบดนตรีพื้นเมือง บนขบวนรถบางทีจะเป็นธิดาบั้งไฟโก้ เทพบุตรเทพธดาตัวน้อย ๆ หรือแม้กระทั่งเรื่องราวจำลองจากนิยายพื้นบ้านปรัมปรา เช่นเรื่องท้าวผาแดง นางไอ่ เป็นต้น นอกจากนี้ที่จะขาดไม่ได้ก็คือขบวนรีวิวประเภทเนื้อหาสาระและตลกขบขันต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้ชาวเมืองที่ต่างอายุกันได้มีโอกาสเข้าร่วมงานอย่างเสมอหน้าและ มาประกวดประชันกันอย่งสนุกสนาน
         ส่วนวันที่สองเริ่มแต่เช้าที่สวนพญาแถนเป็นการประกวดการจุดบั้งไฟ มีการประกวดบั้งไฟขึ้นสูงแบะยั้งไฟแฟนซีต่าง ๆ ในขณะที่ชาวบ้านชาวคุ้มต่าง ๆ ก็จะยกขบวนออกร้องรำทำเพลงกันตลอดทั้งวันอย่างสนุกสนาน 
 จุดเด่นของพิธีกรรม

 จุดเด่นของการชมประเพณีบุญบั้งไฟ อยู่ที่ช่วงเช้าของวันแรกคือวันแห่บั้งไฟสวยงาม สามารถชมได้ที่ปะรำพอธีถนนใจกลางเมือง และช่วงเช้าวันที่สอง คือการจุดบั้งไฟขึ้นสูงที่สวนสาธารณะพญาแถน


สัญลักษณ์



  บุญบั้งไฟเป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสานนิยมทำกันในเดือน 6 หรือเดือน 7 อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล เหมือนกับการแห่นางแมวของคนภาคกลาง
         ในสองพิธีกรรมที่อยู่คนละภาคนี้มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของสัญลักษณ์ที่ใช้อันส่อไปทางเพศสัมพันธ์ เช่น การใช้ไม้มาแกะสลักเป็นอวัยวะเพศชายเรียกว่า "บักแบ้น" หรือ "ปลัดขิก" ในอีสานหรือ "ขุนเพ็ด" ใน]]ภาคกลาง]]เข้าร่วมขบวนแห่ ทั้งยังมีการร้องเซิ้งด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับอวัยวะเพศและเพศสัมพันธ์ สัญลักษณ์นี้เป็นเครื่องหมายของความสัมพันธ์ระหว่างฟ้ากับดิน หญิงกับชาย ที่เป็นพลังก่อกำเนิดชีวิตและเป็นพลังแห่งความอุดมสมบูรณ์ จึงมีความสัมพันธ์กับการขอฝนซึ่งเป็นที่มาของพลังแห่งการเติบโตของพืช และด้วยเหตุที่อวัยวะเพศและเพศสัมพันธ์เป็นสัญลักษณ์สำคัญของงานบุญ จึงถือว่างานบุญบั้งไฟเป็นงานบุญของพระยามาร ซึ่งจัดแข่งกับงานบุญของพระพุทธเจ้า
วัตถุประสงค์การจัดงานบุญบั้งไฟ

       1. เป็นการบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬมณีบนสวรรค์   2. เป็นการขอฝน 
 ขนาดการทำบั้งไฟ
    ก. บั้งไฟร้อย มีน้ำหนักดินปืนหรือดินดำประมาณ 3 ก.ก.
         ข. บั้งไฟหมื่น มีน้ำหนักดินปืนหรือดินดำประมาณ 12 ก.ก.
         ค. บั้งไฟแสน มีน้ำหนักดินปืนหรือดินดำประมาณ 120 ก.ก.
         ง. บั้งไฟล้าน มีน้ำหนักดินปืนหรือดินดำประมาณ 500 ก.ก.
ขั้นตอนการจัดการประเพณีบุญบั้งไฟ
    ประชุมชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่พระสงฆ์ในหมู่บ้านเพื่อขอความเห็นว่าจะจัดงานบุญบั้งไฟหรือไม่ ถ้าตกลงจัดก็จะทำในข้อถัดไป แต่ถ้าไม่จัดจะต้องส่งตัวแทน (ผู้มีอายุชายในหมู่บ้าน) และพ่อเฒ่าจ้ำ (หมอผีประจำหมู่บ้าน) ไปขอขมาต่อเจ้าปู่เพื่อขอเลื่อนไปจัดในปีถัดไป (พิธีกรรมนี้ไม่มีผู้หญิงเกี่ยวข้อง)

  เมื่อตกลงจัดผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้านจะส่งข่าวบอกกล่าวเชื้อเชิญไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงให้มาร่วมงานบุญ เรียกว่า "เตินป่าว" ในสมัยถัดมาบ้านเมืองเจริญขึ้นก็พัฒนามาเป็นการแจกหนังสือเชิญชวนเรียกว่า "สลากใส่บุญ" เหตุที่ถือว่างานนี้เป็นงานบุญก็เพราะว่า วัดเป็นที่รวมของการจัดกิจกรรมของชุมชน การเตรียมการต่างๆ ตั้งแต่การทำบั้งไฟก็มักจะเริ่มจากพระ ซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นฉบับ (ต้นฉบับ) ในวาระโอกาสนี้ยังมีการแทรกประเพณีทางพุทธศานาเข้าไปด้วย เช่น การบวชและการฮดสงฆ์ อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง กองฮด พิธีการในการยกย่องพระสงฆ์

   ชาวบ้านจะเรี่ยไรเงินและสิ่งของตามศรัทธาเพื่อร่วมสมทบกันสร้างบั้งไฟ (ในสมัยโบราณจะทำเพียงบั้งเดียว) บอกบุญให้บ้านเรือน 3-4 หลังคารวมกันต้อนรับแขกจากต่างบ้านที่มาร่วมบ้านหนึ่ง (ซึ่งจำนวนไม่มากนักจะมาพร้อมบั้งไฟของหมู่บ้าน เช่น พระภิกษุ สามเณร หญิงชายที่มาร่วมขบวนแห่) ส่วนใหญ่ก็มักจะกำหนดให้ครอบครัวที่บวชลูกหลานเป็นเจ้าภาพ          ชาวบ้านที่ได้รับมอบหมายจะสร้างปะรำ หรือ "ผาม" หรือ "ตูบบุญ ซึ่งทำด้วยโครงไม้จริง ยกพื้นข้างบนให้พระสงฆ์นั่งฉันภัตาหาร ส่วนข้างล่างปูด้วยใบไม้หรือฟางข้าวให้หญิงสาวนั่ง โดยมีหญิงสูงอายุควบคุมดูแลหญิงสาวเหล่านี้ เพื่อป้องกันมิให้ถูกชายในขบวนเซิ้งลวนลามจนเกินเหตุ

 ในวัดจะมีการทำบั้งไฟโดย "ฉบับ" ซึ่งมักจะเป็นพระ โดยมีลูกมือคือชาวบ้านผู้ชาย ในสมัยผมยังเป็นเด็ก 20 กว่าปีผ่านมาแล้ว ผมก็เป็นลูกมือพระด้วยการไปหาไม้สำหรับมาเผาเป็นถ่านสำหรับคั่วผสมกับดินประสิวเรียกว่า การทำหมื่อ ซึ่งมีสูตรจำเพาะของช่างแต่ละคน ตำด้วยครกมองให้ละเอียดร่วน ทดสอบด้วยการนำมาโรยเป็นทางยาวแล้วจุดไฟดูความเร็วของการปะทุ หากปะทุช้าก็จะต้องใช้สูตรผสมใหม่ตามแต่ต้นฉบับจะกำหนดบอกมา

                                                                                                                            
                                                                                                                   ที่มา:http://www.panyathai.or.th